Skip to content

Latest commit

 

History

History
921 lines (632 loc) · 57.8 KB

README.md

File metadata and controls

921 lines (632 loc) · 57.8 KB

มาเรียนรู้ JavaScript ยุคสมัยใหม่กันเถอะ!

cover

สารบัญ

แนะนำภาษาจาวาสคริปต์

เกริ่นนำ

  • ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุแบบไดนามิกไทป์ (Dynamic types) ซึ่งไวยากรณ์ของมันได้นำโครงสร้างมาจากภาษายอดนิยมอย่างจาวา (Java) กับภาษาซี (C)

  • โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยจาวาสคริปต์ จะต้องทำงานอยู่บนจาวาสคริปต์เอ็นจิ้น (JavaScript engine) ที่เป็นทั้งตัวแปลภาษา (Interpreter) และใช้รันโปรแกรม สำหรับการทำงานของจาวาสคริปต์ที่เราคุ้นเคยกันดี จะทำงานอยู่บนเว็บเบราเซอร์ เช่น Google Chrome, Firefox และ Internet Explorer เป็นต้น ซึ่งจะมีจาวาสคริปต์เอ็นจิ้นติดตั้งมาให้อยู่แล้ว

จาวาสคริปต์ง่าย

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ล้วนรู้จักภาษาจาวาสคริปต์ ซึ่งถือว่านิยมใช้กันมากภาษาหนึ่งในโลก ถ้าศึกษาอย่างผิวเผินก็อาจคิดว่าง๊ายง่าย แต่เมื่อศึกษาลงลึก ๆ แล้ว จะพบว่ามันโคตรจะอินดี้ เป็นภาษาปราบเซียนตัวหนึ่ง จนคนไม่ค่อยเข้าใจกันมากเท่าไรนัก จนหารู้ไม่ว่ามันมีความสามารถแฝงที่ซ้อนเร้นอยู่เยอะเลย

  • จาวาสคริปต์ไม่ใช่ภาษา Java นะครับ คนละภาษา (คนมักสับสนกัน)

คำคมจาวา

  • คนส่วนใหญ่รู้แค่ว่าใช้จาวาสคริปต์ร่วมกับภาษา HTML (ปัจจุบันเวอร์ชั่น HTML5.1) กับ CSS (ปัจจุบันเวอร์ชั่น CSS3) เพื่อทำให้เว็บมันไดนามิก ฟุ้งฟิ้ง กรุ้งกิ๊ง (มันดังในฝั่ง Font-end มานาน)

  • แต่ปัจจุบันนี้จาวาสคริปต์สมัยใหม่ มันก้าวหน้าไปไกลมาก ๆๆๆ เพราะสามารถทำงานอยู่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้ (Back-end) ด้วย Node.js แม้แต่เอาไปทำแอพบนโมบาย หรือแม้แต่โรบอท ก็ยังทำได้ด้วย ….อายย่ะ

สถาปัตยกรรมเว็บ

  • องค์กร Ecma International (องค์กรจัดการมาตรฐานแห่งยุโรป) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานจาวาสคริปต์ ซึ่งจะเรียกมาตรฐานนี้ว่า “ECMA-262” ส่วนตัวภาษาจาวาสคริปต์นั้น ก็จะมีชื่อเรียกเต็มยศอย่างเป็นทางการว่า “ภาษา ECMAScript“

JavaScrit ECMAScript

  • ES6 (ECMAScript 2015) เป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดของจาวาสคริปต์ ประกาศออกมาเมื่อกลางเดือนมิถุนายนปี 2558 ซึ่งถือว่าเปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่นครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของภาษานี้ หลังจากไม่ได้เปลี่ยนมาเกือบ 6 ปี (เวอร์ชั่นเก่าคือ ES5)

ES5_ES6

  • ปีค.ศ. 2016 เวอร์ชั่นใหม่ ES7 (ECMAScript 2016) ก็ออกมาแหละ ส่วนปีหน้า 2017 ก็จะเป็นคิวของเวอร์ชั่น ES8 (ECMAScript 2017) จะออกมาเช่นกัน

  • ต้องเข้าใจอย่างนี้นะครัช เนื่อง ES6 มันใหญ่โตอลังการงานสร้างมาก คืนรอปล่อยออกมาหมดทีเดียว ก็คงรอหลายชาติภพ อาจทำให้มีเสียงบ่นตามมาได้ ด้วยเหตุนี้เข้าถึงเพิ่มฟีเจอร์เล็กยิบ ๆ ย่อย ๆ มาใส่ไว้ในเวอร์ชั่นหลัง ๆ แทน

  • โดยคาดว่าจากนี้ไป จะมีการประกาศเวอร์ชั่นใหม่ทุก ๆ ปี โดยให้คิดเสียว่า ES6 เหมือนโปรแกรมหลัก ส่วนเวอร์ชั่นที่ออกตามทีหลัง ไม่ได้ว่าจะเป็น ES7, ES8 และ ESXXXXX (ถ้ามีต่อนะ) มันก็คือการอัพเดตซอฟต์แวร์ อะไรประมาณนี้

ES7_ES8

  • API ที่ใช้ติดต่อกับ DOM หรือใช้งานร่วมกับ HTML5.1, CSS3 ใน ES6 เขาไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย

  • ES6, ES7, ES8 มันเป็นแค่มาตรฐานใหม่สด ๆ ซิง ๆ ดังนั้นการใช้งานโดยตรงบนเว็บบราวเซอร์ (ปัจจุบันที่ผมเขียนอยู่นี้) ก็ยังไม่ support ทุกฟีเจอร์ ต้องมีตัวคอมไพล์ช่วยก่อน (ยังมีข้อจำกัดบางประการ) …แต่ถ้าใครใช้ Node.js เวอร์ชั่น 7 ก็จะรองรับ ES6 ได้ 99%

ES5_ES6_ES7_ES8

  • TypeScript เป็นภาษาดัดแปลงมาจากจาวาสคริปต์ โดยทั้งนี้ไวยากรณ์และฟีเจอร์ต่างๆ จะมากกว่า อาจมองว่าเป็นซุปเปอร์เซตของจาวาสคริปต์อีกที (แน่นอนมันครอบคลุม ES6) ซึ่งเจ้าของภาษาคือ Microsoft

TypeScript

ลองมาดูความนิยมของ ES6 กัน

javascript_flavors

จากรูปเป็นผลสำรวจปี 2016 จะเห็นว่ามาตรฐานใหม่ ES6 คนเริ่มใช้งานเยอะ ไล่จี้จาวาสคริปต์แบบเก่าติดๆ แล้ว (ES5)

(ที่มา http://stateofjs.com/2016/flavors/)

เครื่องมือในการพัฒนาจาวาสคริปต์ (IDE)

  • มีให้ใช้ฟรีหลายตัวมาก เช่น Visual Studio Code, Sublime Text, Atom, Free JavaScript Editor, Aptana Studio, NetBeans, Eclipse ฯลฯ
  • หรือแม้แต่ใช้อิดิเตอร์ (Editor) ธรรมดา เช่น Notepad, Notepad++ และ EditPlus เป็นต้น
  • หรือถ้าเป็น geek หน่อย ก็จะใช้ Text Editor อย่าง Vim, Emacs เป็นต้น

TypeScript

Node.js มันคืออะไรตับไตใส้พุง?

ถ้าใครจับจาวาสคริปต์ยุคนี้ จะหนีไม่พ้นต้องรู้จัก Node.js …เอ๊ะ ว่าแต่มันคืออะไรล่ะ?

ถ้าอธิบายสั้นๆ มันคือตัวรันไทม์ (Runtime) ของภาษาจาวาสคริปต์ โดยที่เราไม่ต้องพึ่งพาเว็บบราวเซอร์เลย

ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรันจาวาสคริปต์นอกเว็บเบราเซอร์ได้ ซึ่งปัจจุบันเขานิยมนำ Node.js มาใช้งานฝั่งเซิร์ฟเวอร์ (Back-end) หรือจะทำงานตามลำพังเป็นแบบ Standalone ก็ย่อมได้นะลูกพี่

ถ้าสนใจเนื้อหาของ Node.js มากกว่านี้ ก็สามารถอ่าน ebook ที่ผมแจกฟรีได้ที่

*** ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ http://www.ebooks.in.th ถึงจะโหลด PDF ได้

my ebook

read books

ตัวอย่างจาวาสคริปต์บนเว็บเบราเซอร์

ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงการเขียนจาวาสคริปต์ตามมาตรฐานเก่า ES5 ซึ่งจะต้องแทรกอยู่ภายใต้แท็ก < script > ...< /script > ของไฟล์ HTML โดยทั้งนี้จะสมมติว่าบันทึกเป็นไฟล์ index.html

*** ผมขอติ้งต่างว่า คุณเขียนจาวาสคริปต์บน HTML เป็นกันอยู่แล้วเนอะ

<!-- ไฟล์ชื่อ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head></head>
<body>
	<h1 id="element1"></h1>
	<script>		
		// ซอร์สโค้ดตามมาตราฐานเก่า ES5   
		function say(message){
	    		var element = document.querySelector('#element1');
	    		element.innerHTML = message;			
		}
		say("Hello, world!");
</script>
</body>
</html>

โครงสร้างโปรเจค

C:\ES6>
    |-- index.html

เมื่อดับเบิลคลิกที่ไฟล์ index.html จะปรากฏตามรูป

Hello world

ตัวอย่างจาวาสคริปต์นอกเว็บเบราเซอร์

ต่อไปจะแสดงการใช้งานจาวาสคริปต์นอกเว็บเบราเซอร์ ด้วยการใช้ Node.js รันไฟล์จาวาสคริปต์ในฝั่งเซิร์ฟเวอร์

var http = require('http');

http.createServer(function (request, response) {
  response.writeHead(200, {'Content-Type': 'text/plain'});
  response.end("Hello, world!");
}).listen(8001, '127.0.0.1');

console.log('Server running at http://127.0.0.1:8001/');

ซอร์สโค้ดข้างบน อย่าเพิ่งสนใจรายละเอียดนะครับ (มันนอกประเด็น) แต่จะสมว่าบันทึกเป็นไฟล์ server.js ดังโครงสร้างโปรเจคต่อไปนี้

C:\ES6>
    |-- server.js

รันไฟล์ server.js ผ่านทาง Node.js ด้วยความสั่งต่อไปนี้ ตามรูป

run node.js server.js

*** อ่านวิธีติดตั้ง และใช้งาน Node.js เพิ่มเติม ได้จากหนังสือที่ผมแจกฟรีข้างต้นนะครับ

เมื่อเปิดเว็บเบราเซอร์แล้วกรอก URL เป็น http://127.0.0.1:8001/ ก็จะเห็นข้อความ Hello, world! แสดงออกมาทางหน้าเว็บเพจ ตามรูป

result node.js server.js

ตัวอย่างการเขียน ES6 กับ ES7 บนเว็บเบราเซอร์

เนื่องจากเว็บเบราเซอร์ส่วนใหญ่จะใช้งานได้กับ ES5 ด้วยเหตุนี้จึงต้องนำซอร์สโค้ดที่เขียนด้วย ES6 มาคอมไพล์ ด้วยคอมไพเลอร์ที่เรียกว่า “transpiler” เพื่อแปลงจาก ES6 ให้กลายมาเป็นเวอร์ชั่น ES5 ที่เว็บเบราเซอร์ส่วนใหญ่ใช้งานได้ไปก่อน

Traceur

โดยตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงการเขียนจาวาสคริปต์บนเว็บเบราเซอร์ โดยใช้ Traceur ทำตัวเป็น transpiler (อย่าเพิ่งสนใจรายละเอียดซอร์สโค้ดที่ยกมาให้ดูนะครับ)

<!-- ไฟล์ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>

<!--  Traceur (ใช้เป็นตัว transpiler)-->
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/bin/traceur.js"></script>
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/bin/BrowserSystem.js"></script>
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/src/bootstrap.js"></script>

</head>
<body>
<h1 id="element1"></h1>
<script type="module">						// ต้องเขียนกำกับ type = "module"
	class Chat{								// class ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
		constructor(message) {				// constructor ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
			this.message = message;
		}
		say(){
			let element = document.querySelector('#element1');
			element.innerHTML = this.message;				
		}
	}		
	let chat = new Chat("Hello, world!");	// let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
	chat.say();

	// ตัวอย่างโค้ด ES7 ชุดนี้ยังรันได้เฉพาะบน Google Chrome
	let array = ["A", "B", "C"];			// let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
	console.log(array.includes("A"));   	// true    -- เมธอดของอาร์เรย์ที่เพิ่มเข้ามาใน ES7
</script>
</body>
</html>

จะสมมติว่าบันทึกเป็นไฟล์ index.html โดยมีโครงสร้างโปรเจคดังนี้

C:\ES6>
    |-- index.html

เมื่อดับเบิลคลิกที่ไฟล์ index.html จะปรากฏตามรูป

Hello world es6 es7

สังเกตในโค้ดจะต้องระบุ < script type="module" >

แต่ถ้าจะเขียนโค้ดจาวาสคริปต์ แยกออกมาเป็นไฟล์ .js เช่น mylib.js ก็สามารถทำได้ โดยจะมีโครงสร้างข้างล่าง

C:\ES6>
    |-- index.html
    |-- mylib.js

ส่วนไฟล์ mylib.js ก็หน้าตาแบบนี้ไง แค่แยกโค้ดจาวาสคริปต์ออกมา

class Chat{                             // class ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
    constructor(message) {              // constructor ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
        this.message = message;
    }
    say(){
        let element = document.querySelector('#element1');
        element.innerHTML = this.message;               
    }
}       

let chat = new Chat("Hello, world!");   // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
chat.say();

// ตัวอย่างโค้ด ES7 ชุดนี้ยังรันได้เฉพาะบน Google Chrome
let array = ["A", "B", "C"];            // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
console.log(array.includes("A"));       // true    -- เมธอดของอาร์เรย์ที่เพิ่มเข้ามาใน ES7

สามารถเขียนอ้างไฟล์ .js ได้ง่ายๆ ดังนี้

<!-- ไฟล์ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>

<!--  Traceur (ใช้เป็นตัว transpiler)-->
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/bin/traceur.js"></script>
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/bin/BrowserSystem.js"></script>
<script src="https://google.github.io/traceur-compiler/src/bootstrap.js"></script>

</head>
<body>
<h1 id="element1"></h1>

<script type="module">
import "./mylib.js";  	// อ้างไฟล์ .js
</script>

</body>
</html>

หมายเหต วิธีอิมพอร์ตไฟล์ด้วยวิธีนี้ ถ้าไปเปิดดูบน Google Chrome อาจไม่ทำงาน แต่ไม่ต้องซีเรียส เรามีทางแก้ไข แนะนำให้ไปอ่านหัวข้อ [Cross-origin resource sharing (CORS)] (#cross-origin-resource-sharing-cors)

Babel

ต่อไปจะแสดงการเขียนจาวาสคริปต์บนเว็บเบราเซอร์ โดยใช้ Babel ทำตัวเป็น transpiler (ผลการทำงานจะเหมือนตัวอย่างตอนใช้ Traceur )

<!-- ไฟล์ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>

<!--  Babel (ใช้เป็นตัว transpiler)-->
<script src="https://cdnjs.cloudflare.com/ajax/libs/babel-standalone/6.14.0/babel.min.js"></script>

</head>
<body>
<h1 id="element1"></h1>
<script type="text/babel">					// ต้องเขียนกำกับ type = "text/babel"
	class Chat{								// class ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
		constructor(message) {				// constructor ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
			this.message = message;
		}
		say(){
			let element = document.querySelector('#element1');
			element.innerHTML = this.message;				
		}
	}		
	let chat = new Chat("Hello, world!");	// let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
	chat.say();

	// ตัวอย่างโค้ด ES7 ชุดนี้ยังรันได้เฉพาะบน Google Chrome
	let array = ["A", "B", "C"];			// let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
	console.log(array.includes("A"));   	// true    -- เมธอดของอาร์เรย์ที่เพิ่มเข้ามาใน ES7
</script>
</body>
</html>

จะสมมติว่าบันทึกเป็นไฟล์ index.html โดยมีโครงสร้างโปรเจคดังนี้

C:\ES6>
    |-- index.html

เมื่อดับเบิลคลิกที่ไฟล์ index.html จะปรากฏตามรูป

Hello world es6 es7

สังเกตในโค้ดจะต้องระบุ < script type="text/babel" > หรือเขียนเป็น < script type="text/jsx" > ก็ได้เหมือนกัน

แต่ถ้าจะเขียนโค้ดจาวาสคริปต์ แยกออกมาเป็นไฟล์ .js เช่น mylib.js ก็สามารถทำได้ โดยจะมีโครงสร้างข้างล่าง (ไฟล์ .js หน้าตาเหมือนตอนใช้ Traceur)

C:\ES6>
    |-- index.html
    |-- mylib.js

สามารถเขียนอ้างไฟล์ .js ได้ง่ายๆ ดังนี้ (สังเกตโค้ดดีๆ วิธีอิมพอร์ตไฟล์ .js จะต่างกับ Traceur เล็กน้อย)

<!-- ไฟล์ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>

<!--  Babel (ใช้เป็นตัว transpiler)-->
<script src="https://cdnjs.cloudflare.com/ajax/libs/babel-standalone/6.14.0/babel.min.js"></script>

</head>
<body>
<h1 id="element1"></h1>
<script type="text/babel" src="mylib.js">	// อ้างไฟล์ .js
</script>
</body>
</html>

หมายเหต วิธีอิมพอร์ตไฟล์ด้วยวิธีนี้ ถ้าไปเปิดดูบน Google Chrome อาจไม่ทำงาน แต่ไม่ต้องซีเรียส เรามีทางแก้ไข แนะนำให้ไปอ่านหัวข้อ [Cross-origin resource sharing (CORS)] (#cross-origin-resource-sharing-cors)

โหลดไฟล์ Traceur กับ Babel มาเก็บไว้ที่เครื่องแบบออฟไลน์

Traceur แบบออฟไลน์

จากตัวอย่างก่อนๆ เวลาเขียน ES6 กับ ES7 บนว็บบราวเซอร์ด้วย Traceur ผมต้องอ้างถึงไฟล์ traceur.js, BrowserSystem.js และ bootstrap.js แบบออนไลน์ แต่ถ้าจะโหลดไฟล์นี้ (ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง) มาเก็บไว้ที่เครื่องแบบออฟไลน์ ก็ให้ใช้คำสั่ง npm ข้างล่าง (วิธีติดตั้งและใช้งาน npm ก็ตามหนังสือข้างบนที่แจกให้อ่านฟรี)

C:\ES6>npm install -save traceur 

จะเห็นไฟล์ถูกโหลดเข้ามาเก็บ ได้แก่ traceur.js กับ BrowserSystem.js

C:\ES6\node_modules\traceur\bin
			                 |-- BrowserSystem.js
			                 |-- traceur.js

ส่วนไฟล์ bootstrap.js ก็จะอยู่ที่

C:\ES6\node_modules\traceur\src
					         |-- bootstrap.js

Babel แบบออฟไลน์

สำหรับ Babel ก็เช่นกัน สามารถโหลดไฟล์ babel.js หรือ babel.min.js มาใช้แบบออฟไลน์ (เลือกใช้ไฟล์ไหนก็ได้) ด้วยคำสั่ง npm ดังนี้

C:\ES6>npm install --save babel-standalone

จะเห็นไฟล์ถูกโหลดมาเก็บตามนี้

C:\ES6\node_modules\babel-standalone
			             |-- babel.js
			             |-- babel.min.js

หรือไปที่เว็บข้างล่างแล้วเลือกโหลดไฟล์ทั้งสองนี้ก็ได้

https://github.com/Daniel15/babel-standalone/releases

*** Traceur กับ Babelเท่าที่ผมลองใช้งานดู มันยังไม่นิ่งเท่าไร ถ้าจะนำมันไปใช้งานยังไง ก็ควรหมั่นอัพเดตจากทีมสร้างเขาอีกทีนะครับ ...ที่สำคัญวิธีใช้งานแต่ละเจ้า ก็ดันแตกต่างกันอีกแฮะ! จนหนังสือที่ผมเขียนไป ถ้าใครลองทำตาม แล้วใช้งาน ES6 ไม่ได้ เค้าขอโทษแล้วกันน๊า! ยังไงเดี่ยวขออัพเดตโค้ดล่าสุดที่เว็บนี้แล้วกันเนอะ

วิธีคอมไพล์จาก ES6 ให้เป็น ES5 ด้วยมือตนเอง

Traceur

เราสามารถใช้กระบวนท่าแปลงซอร์สโค้ดจาก ES6 เป็น ES5 ด้วยมือตนเอง ด้วยการเปิดคอมมานไลน์ขึ้นมา (ตัวอย่างจะใช้วินโดวส์) แล้วเรียกสคริปต์ traceur ซึ่งถ้าคุณทำตามตัวอย่างก่อนหน้า ที่แนะวิธีโหลดไฟล์ Traceur มาเก็บแบบออฟไลน์ ด้วยคำสั่ง npm install -save traceur ก็ให้ไปที่โฟลเดอร์ ...\node_modules\ .bin จะเห็นไฟล์สคริปดังนี้

C:\ES6\node_modules\.bin
			 		|-- traceur
			 		|-- traceur.cmd			 

จากไฟล์ mylib.js ในตัวอย่างก่อนหน้านี้ (โค้ด ES6)

C:\ES6>
    |-- index.html
    |-- mylib.js

เราก็สามารถเรียกสคริปต์ traceur ให้มาทำการคอมไฟล์ mylib.js เพื่อแปลงเป็น ES5 ได้คำสั่งดังนี้

C:\ES6\node_modules\.bin>traceur --out ../../out/mylib.js --script ../../mylib.js

(ถ้าติดตั้ง Traceur ด้วยคำสั่ง npm install -g traceur ก็ไม่ต้อง cd มาที่ C:\ES6\node_modules\ .bin)

สำหรับไฟล์ที่ถูกแปลงเป็น ES5 จะเก็บอยู่ที่โฟลเดอร์ out\mylib.js

C:\ES6>
    |-- index.html
    |-- mylib.js
    |-- out
    	 |-- mylib.js

ถ้าแอบไปเปิดไฟล์ out\mylib.js ก็จะเห็นว่าโค้ดถูกแปลงเป็น ES5 หน้าตาเรียบร้อยดังนี้

var Chat = function() {
  "use strict";
  function Chat(message) {
    this.message = message;
  }
  return ($traceurRuntime.createClass)(Chat, {say: function() {
      var element = document.querySelector('#element1');
      element.innerHTML = this.message;
    }}, {});
}();
var chat = new Chat("Hello, world!");
chat.say();
var array = ["A", "B", "C"];
console.log(array.includes("A"));

จากตัวอย่างเดิม ก็สามารถเขียนใหม่ได้ดังนี้

<!-- ไฟล์ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>

<!--  ระบุตัว transpiler -->
<script src="node_modules/traceur/bin/traceur-runtime.js"></script>

</head>

<body>
<h1 id="element1"></h1>

<!-- ไฟล์ .js ที่ถูกแปลงเป็น ES5 -->
<script src="out/mylib.js"></script>

</body>
</html>

ซึ่งผลการทำงานจะเหมือนกับตัวอย่างก่อนๆ ที่ยกมา

Babel

สำหรับ Babel ก็เช่นกัน สามารถใช้กระบวนท่าแปลงซอร์สโค้ดจาก ES6 ให้เป็น ES5 ด้วยมือตนเอง โดยทำตามตัวอย่างจากเว็บต้นทางผู้สร้าง เขาจะแนะนำตามนี้

var input = 'const getMessage = () => "Hello World";';
var output = Babel.transform(input, { presets: ['es2015'] }).code;

จากตัวอย่างเดิม ก็สามารถเขียนใหม่ได้ดังนี้

<!-- ไฟล์ index.html-->
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>

<!--  ระบุตัว transpiler -->
<script src="https://cdnjs.cloudflare.com/ajax/libs/babel-standalone/6.14.0/babel.min.js"></script>

</head>
<body>
<h1 id="element1"></h1>
<script>                  // ไม่ต้องเขียนกำกับ type = "text/babel"
	
	// ใช้ Template Strings ของ ES6 เขียนโค้ดจาวาสคริปต์
	var input = `
	class Chat{                             // class ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
		constructor(message) {              // constructor ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
			this.message = message;
		}
		say(){
			let element = document.querySelector('#element1');
			element.innerHTML = this.message;               
		}
	}       

	let chat = new Chat("Hello, world!");   // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
	chat.say();

	// ตัวอย่างโค้ด ES7 ชุดนี้ยังรันได้เฉพาะบน Google Chrome
	let array = ["A", "B", "C"];            // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
	console.log(array.includes("A"));       // true    -- เมธอดของอาร์เรย์ที่เพิ่มเข้ามาใน ES7
	`;

	
	var output = Babel.transform(input, { presets: ['es2015'] }).code; // คอมไฟล์ ES6 เป็น ES5
	eval(output);	// ประมวลผล
</script>
</body>
</html>

ซึ่งผลการทำงานจะเหมือนกับตัวอย่างก่อนๆ ที่ยกมา

Cross-origin resource sharing (CORS)

โดยปกติแล้วเว็บเพจ จะไม่สามารถแชร์ resources ข้าม domain กันได้ (เช่น ฟอนต์, ไฟล์จาวาสคริปต์ และรูปภาพ เป็นต้น) เพราะมันเป็นเรื่องของความปลอภัย (same-origin policy)

คราวนี้ถ้าเขียนจาวาสคริปต์แบบแยกไฟล์ .js แล้วอิมพอร์ตเข้ามา (จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ ผมอิมพอร์ตไฟล์ mylib.js เข้ามา ด้วยวิธี Traceur หรือ Babel) เมื่อนำไปเปิดบน Google Chrome อาจทำงานไม่ได้ (ซวยแล้วไง!) เพราะเมื่อไปดูที่ console จะเห็นมันฟ้องเรื่อง Cross origin ดังรูป

Hello world es6 es7

แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงกฏข้อนี้ได้ โดยใช้ Cross-origin resource sharing (CORS) ซึ่งเป็นกลไกอนุญาตให้ resources บนเว็บเพจ ถูกเข้าถึงจาก Domain อื่นได้

วิธีการแก้ปัญหา

วิธี1

สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงแค่บอกให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพิ่มค่าต่อไปนี้ลงไปใน HTTP Header (วิธีกำหนดค่านี้ ต้องดูที่คู่มือของเซิร์ฟเวอร์แต่ละเจ้าเอาเอง)

Access-Control-Allow-Origin: *

จริงๆ ทำแบบนี้ก็ดูไม่ปลอดภัยเท่าไร ทางที่ดีควรให้สิทธิเฉพาะ url เท่าที่จำเป็น ตัวอย่างเช่น

Access-Control-Allow-Origin: http://www.example.com http://test.example.com 

(ที่มา http://manit-tree.blogspot.com/2012/07/cross-origin-resource-sharing.html)

วิธีที่ 2

ถ้าเราไม่ได้เขียนเว็บ แล้วเทสบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ อารมณ์ทดสอบเว็บบนเครื่องตัวเองแบบ local ก็ต้องเปิด Google chrome ด้วยท่าพิศดาร โดยปลดความปลอดภัยเรื่องนี้ออก เพื่อให้มันทำ CORS ได้

บนวินโดวส์ก็ให้ไปที่คอมมานไลน์ แล้วพิมพ์คำสั่งตามนี้ เมื่อนั้น Google Chrome ก็จะเปิดขึ้นมา แล้วถึงเปิดไฟล์ HTML ตามทีหลัง

chrome.exe --user-data-dir="C:/Chrome dev session" --disable-web-security

หรือจะระบุชื่อไฟล์ HTML ให้เปิดขึ้นมาพร้อมกับ Google Chrome ก็ได้

chrome.exe --user-data-dir="C:/Chrome dev session" --disable-web-security "c:\ES6\index.html"

อีกวิธีหนึ่งง่ายดี ให้ไปที่ Shortcut ของ Google Chrome แล้วคลิกขวาเปิดมันขึ้นมา จากนั้นจึงเพิ่มค่าต่อไปนี้ตรงช่อง "Target:" หลังข้อความเดิม

--user-data-dir="C:/Chrome dev session" --disable-web-security  

Hello world es6 es7

ต่อไปนี้ ก็ให้เปิดที่ Shortcut ของ Google Chrome ก่อนเสมอ แล้วหลังจากนั้น จึงเปิดไฟล์ HTML ตามทีหลัง

ส่วนบน OSX กับ Linux ผมไม่มีเครื่องลองครับ จึงไม่กล้าเขียน ลองดูเพิ่มเติมได้ที่

http://stackoverflow.com/questions/3102819/disable-same-origin-policy-in-chrome

วิธีที่ 3

จากไฟล์ index.html ที่มีปัญหาเวลาเปิด Google Chrome แล้วไม่ทำงาน

C:\ES6>
    |-- index.html
    |-- mylib.js

ให้ลองใช้เซิร์ฟเวอร์จำลอง จาก Node.js แต่ก่อนอื่นจะให้ติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ที่ว่า ก็คือ live-server ด้วยคำสั่ง npm ดังนี้

npm install -g live-server

จากนั้นก็ cd ไปที่ C:\ES6\ ต่อด้วยสั่งให้ live-server ทำการรัน index.html ด้วยคำสั่งง่ายๆ ดังนี้

C:\ES6>live-server

เมื่อนั้นเว็บบราวเซอร์ที่ถูกตั้งไว้เป็นดีฟอลต์ ก็จะเด้งขึ้นมา และเปิดไฟล์ index.html อย่างอัตโนมัติ หรือถ้าเครื่องเรา Google Chrome ไม่ได้ตั้งเป็นดีฟอลต์ ก็ให้กรอก url ตรงๆ เป็น http://127.0.0.1:8080/ ตามรูป

Hello world es6 es7

** เสริมนิดหนึ่ง ถ้าใครใช้ Python ก็อาจใช้เซิร์ฟเวอร์จำลองได้ด้วยเช่นกัน อย่างกรณีผมใช้ Python 3 ก็จะพิมพ์คำสั่งดังนี้

C:\ES6>python -m http.server 8080

จากนั้นก็เปิด Google Chrome ขึ้นมาโดยกรอก url เป็น http://127.0.0.1:8080/

ตัวอย่างการเขียน ES6 กับ ES7 บน Node.js

ต่อไปจะแสดงการเขียนจาวาสคริปต์ด้วย ES6 กับ ES7 แล้วสั่งรันผ่านทาง Node.js โดยตรง ไม่ต้องใช้ transpiler (หรือจะใช้ ก็แล้วแต่ครับ)

*** ทั้งนี้ Node.js เวอร์ชั่น 7 ขึ้นไปก็จะรองรับ ES6 ได้ 99%

class Chat{                 			// class ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
    constructor(message) {      		// constructor ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
        this.message = message;
    }
    say(){
        console.log(this.message);
    }
}       

let chat = new Chat("Hello, world!");   // let ไวยากรณ์ใหม่ของ ES6
chat.say();                 			// "Hello, world!"

let array = ["A", "B", "C"];
console.log(array.includes("A"));   	// true    -- เมธอดของอาร์เรย์ที่เพิ่มมาใน ES7

จะสมมติว่าบันทึกเป็นไฟล์ test.js โดยมีโครงสร้างโปรเจคดังนี้

C:\ES6>
    |-- test.js

รันไฟล์ test.js ผ่านทาง Node.js ด้วยความสั่งต่อไปนี้ ตามรูป

node.js es6 es7

ทวน ES5 (มาตรฐานเก่า)

แนะนำ ES6

เนื้อหาบทที่ 2 และ 3 ขอลบนะครับ ไม่สามารถนำเนื้อหาออกมาได้เพราะติดลิขสิทธิ์ แต่ตัวอย่างโค้ดสามารถแยกออกให้ดูได้ทีนี้ครับ

ตัวอย่างโค้ด

อ่านเพิ่มได้ในหนังสือ

แนะนำ ES7

หัวข้อต่อไปนี้จะแสดงฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาใน ES7 (ECMAScript 2016) รวมทั้งที่เปลี่ยนแปลงไปจาก ES6 ซึ่งมันเปลี่ยนเล็กนิดเดียวเอง

เพิ่มการใช้งานโอเปอเรเตอร์ยกกำลัง (Exponentiation Operator)

โอเปอเรเตอร์ยกกำลังจะใช้สัญลักษณ์เป็น ** (ดอกจันสองอันวางติดกัน) เพื่อแทนการคำนวณตัวเลขแบบยกกำลัง โดยไม่ต้องใช้เมธอด Math.pow() ซึ่งจะมีตัวอย่างการใช้งานดังนี้

let ans = 10 ** 2;              			// นำเลข 10 มายกกำลัง 2  ( 102 )
console.log(ans);                      		// 100

// เสมือนใช้เมธอด Math.pow() ดังนี้
console.log(ans === Math.pow(10, 2));     	// true

ลำดับของโอเปอเรเตอร์ **

โอเปอเรเตอร์ ** จะถือว่ามีลำดับความสำคัญสูงกว่าโอเปอเรเตอร์ทางคณิตศาสตร์ตัวอื่น ๆ

let ans = 3 * 10 ** 2;	
console.log(ans);        // 300

จากตัวอย่างเดิมจะเสมือนมีวงเล็บมาครอบนิพจน์ (10 ** 2) ดังตัวอย่างซอร์สโค้ดข้างล่าง

let ans = 3 * (10 ** 2);	
console.log(ans);        // 300

ข้อเข้มงวดของโอเปอเรเตอร์ **

โอเปอเรเตอร์ยกกำลังไม่สามารถใช้งานร่วมกับโอเปอเรเตอร์พวก unary expression เช่น - (เครื่องหมายลบ ไม่ใช่การลบ) ,+ (เครื่องหมายบวก ไม่ใช่การบวก), void, delete และ typeof เป็นต้น โดยจะให้ดูตัวอย่างต่อไปนี้ประกอบ

let ans = -10 ** 2; 	// Syntax Error

ตัวอย่างที่ยกมานี้จะเกิด error เพราะตรงนิพจน์ -10 ** 2 มันกำกวม เนื่องจากอาจหมายถึง

  • -(10 ** 2)
  • (-10) ** 2

จากตัวอย่างเดิม ถ้าลองนำวงเล็บมาครอบเพื่อกำหนดลำดับการทำงานเสียใหม่ ก็จะไม่เกิด error ดังตัวอย่าง

let ans = - (10 ** 2); 	// -100

จากตัวอย่างเติมเช่นกัน ถ้าลองเปลี่ยนการครอบวงเล็บเสียใหม่ ก็จะได้ผลการทำงานที่แตกต่างกันดังนี้

let ans = (-10) ** 2; 	// 100

ขณะเดียวกันโอเปอเรเตอร์ยกกำลังก็จะมีข้อยกเว้น มันสามารถใช้ได้กับ ++ หรือ -- (เป็น unary expression) โดยไม่ต้องใช้วงเล็บครอบ ลองพิจารณาการใช้โอเปอเรเตอร์ยกกำลังร่วมกับโอเปอเรอเตอร์ ++ ดังตัวอย่าง

let value1 = 9, value2 = 10;

// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ ++ แบบ prefix
// ค่าของ value1 ถูกบวกด้วยหนึ่ง ก่อนที่จะยกกำลัง 2 
console.log(++value1 ** 2);     // 100
console.log(value1);            // 10 

// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ ++ แบบ postfix
// หลังจากยกกำลัง 2 ไปแล้ว ค่าของ value2 จึงถูกบวกด้วยหนึ่งทีหลัง
console.log(value2++ ** 2);     // 100
console.log(value2);            // 11

ลองพิจารณาการใช้โอเปอเรเตอร์ยกกำลังร่วมกับโอเปอเรเตอร์ -- ดังตัวอย่าง

let value1 = 11, value2 = 10;

// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ -- แบบ prefix
// ค่า value1 ถูกลบด้วยหนึ่ง ก่อนที่จะยกกำลัง 2 
console.log(--value1 ** 2);     // 100
console.log(value1);            // 10 

// ใช้งานโอเปอเรเตอร์ -- แบบ postfix
// หลังจากยกกำลัง 2 ไปแล้ว ค่าของ value2 จึงถูกลบด้วยหนึ่งทีหลัง 
console.log(value2-- ** 2);     // 100
console.log(value2);            // 9

เพิ่มเมธอด Array.prototype.includes()

สำหรับ ES6 นั้น สตริงทุกตัวจะมีเมธอด includes() และเช่นเดียวกันใน ES7 ก็ได้เพิ่มเมธอดดังกล่าวให้กับอาร์เรย์ โดยมีจุดประสงค์ใช้ค้นหาข้อมูลในอาร์เรย์ ถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการหาก็จะรีเทิร์นเป็น true ถ้าไม่เจอก็จะได้เป็น false ดังตัวอย่าง (ทำงานแบบเดียวกับ includes() ของสตริงบทที่ 5 ในหนังสือ [1])

let array = ["A", "B", "C"];        		// ประกาศอาร์เรย์

console.log(array.includes("A"));         	// true
console.log(array.includes("Z"));         	// false

ในตัวอย่างนี้จะค้นหาตัวอักษร "A" เจอในอาร์เรย์ แต่ไม่สามารถค้นหา "Z" พบ เพราะมันไม่มีอยู่ในอาร์เรย์ ปกติแล้วเมธอด includes() จะเริ่มค้นหาที่ตำแหน่งอินเด็กซ์เป็น 0 โดยดีฟอลต์ ดังนั้นถ้าจะเปลี่ยนตำแหน่งอินเด็กซ์ที่ใช้ค้นหา ก็สามารถทำได้ดังตัวอย่าง

let array = ["A", "B", "C"];        		// ประกาศอาร์เรย์

// เริ่มค้นหา "B" จากอินเด็กซ์คือ 2 ซึ่งจะพบว่าหาไม่เจอ
console.log(array.includes("B", 2));        // false

// แต่ถ้าเปลี่ยนมาเริ่มค้นหาจากอินเด็กซ์เป็น 1 ก็จะหา "B" เจอ
console.log(array.includes("B", 1));        // true

ในตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นว่าเมธอด includes รับค่าอากิวเมนต์ตัวที่สอง เพื่อระบุตำแหน่งเริ่มต้นของอินเด็กซ์ที่จะใช้ค้นหาข้อมูลในอาร์เรย์

ข้อควรระวัง includes()

เมธอด includes() จะเสมือนใช้โอเปอเรเตอร์ === เปรียบเทียบว่ามีสมาชิกที่ต้องค้นหาหรือไม่ แต่ทว่าเวลามันเห็นข้อมูลเป็น NaN ก็จะมองว่ามีค่าเท่ากัน (เปรียบเทียบแล้วได้ true) ซึ่งจะแตกต่างจาก indexOf ซึ่งจะเสมือนใช้ === เช่นกัน ซึ่งเวลามันเห็น NaN จะมองว่ามีค่าต่างกัน (เปรียบเทียบแล้วได้ false) ดังตัวอย่าง

let array = [0, NaN, 1];

console.log(array.indexOf(NaN));       // -1    -- ไม่เจอสมาชิกที่ต้องการ
console.log(array.includes(NaN));      // true

แต่ถ้าข้อมูลเป็น +0 กับ -0 จะมองว่าเท่ากัน (เปรียบเทียบแล้วได้เป็น true) ทั้ง includes() กับ indexOf() ดังตัวอย่าง

let array = [-0, NaN, 1];

console.log(array.indexOf(+0));       // 0	 -- เจอค่า -0 อยู่ในอาร์เรย์ที่ตำแหน่งอินเด็กซ์ 0
console.log(array.includes(+0));      // true

TypedArray.prototype.includes()

ในอาร์เรย์ระดับบิต (TypedArray บทที่ 12 ของหนังสือ [1]) ก็จะมีเมธอด includes() ให้ใช้งานเหมือนกับอาร์เรย์ในหัวข้อก่อนหน้านี้ทุกประการเด๊ะ ดังตัวอย่าง

let uint8 = new Uint8Array([1, 2, 3, 4, 5]);

console.log(uint8.includes(1));     	// true
console.log(uint8.includes(5));     	// true
console.log(uint8.includes(10));     	// false

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปของ ES7 เมื่อเทียบกับ ES6 (นิดเดียวเอง)

หัวข้อก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่ใน ES7 แต่หัวข้อนี้จะกล่าวถึงฟีเจอร์ที่เปลี่ยนไปจาก ES6 ดังนี้

  • trap ที่เป็น enumerate() ของพร็อกซี่ (บทที่ 14 ของหนังสือ [1]) ถูกเอาออกไปใน ES7 เรียบร้อยแล้ว
  • เจอเนอเรเตอร์ (บทที่ 13 ของหนังสือ [1]) ไม่มี [[Construct]] ถ้าเรียก new จะเกิด error ขึ้นมาดังตัวอย่าง
function * generator() {}
let iterator = new generator(); 	// throws "TypeError: f is not a constructor"

แนะนำ ES8

สิ่งที่คาดว่าจะเพิ่มเข้ามาใน ES8 (ECMAScript 2017)

  • Object.entries() กับ Object.values()
  • padStart() กับ padEnd()
  • Object.getOwnPropertyDescriptors()
  • การใช้คอมม่า (,) ต่อท้ายในพารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น ,ตอนเรียกใช้งานฟังก์ชั่น, ในอ็อบเจ็กต์ และอาเรย์
  • Async กับ await

รายละเอียดหาอ่านเพิ่มได้ ในหนังสือแจกฟรีเล่มนี้นะครับ

http://www.ebooks.in.th/ebook/40184/รีวีวฟรีเจอร์ใหม่ในจาวาสคริปต์_(JavaScript)_มาตรฐาน_ES7__ES8__(ECMAScript_2016_กับ_ECMAScript_2017)/

es7 es8

แนะนำ ES9 และ ES10

(รอก่อน)

อ้างอิง

ทิ้งท้าย

เหตุผลที่เขียนบทความชุดนี้ เพราะหลังจากเขียนหนังสือ ดังกล่าวไปแล้ว (ตามรูปข้างล่าง) เทคโนโลยีจาวาสคริปต์ก็ดูเหมือนพัฒนาต่อเนื่อง (ยังไม่นิ่ง) ด้วยเหตุนี้ ....

  • เนื้อหาทั้งหมดต่อไปนี้ จะเหมือนเป็นภาคต่อจากหนังสือดังกล่าว
  • จะพูดถึงภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript) ยุคสมัยใหม่ตามมาตรฐาน ES7, ES8 (ไม่มีในหนังสือ)
  • รวมทั้งเพิ่มเนื้อหาที่ไม่อยู่ในหนังสือ (คือตอนแต่งหนังสือ เทคโนโลยีต่างๆ ยังไม่อื้ออำนวย ผมเลยไม่กล้าเขียนลงไปครับ)
  • ทั้งนี้เนื้อหาจะต่างจากหนังสือข้างต้น ไม่เหมือนกันเท่าไร
  • เขียนยังไม่เสร็จดี กะว่าจะทยอยเขียนไปเรื่อยๆ (ถ้ามีเวลาว่าง) ซึ่งถ้าได้ปริมาณมากพอ อนาคตอาจมีรวบรวมทำเป็นเล่ม 2 เพื่อวางขายต่อไป

*** ใครเอาเนื้อหาผมไปใช้ โปรดให้เครดิตลิงค์ต้นฉบับต้นด้วยนะคร๊าบบบบบ

ถ้าสนใจข่าวสารไอที ทั้งสาระบ้าง และไร้สาระบ้าง ก็ตามได้ที่

สามารถให้คำชี้แนะ คอมเมนต์ และฟีดแบ็คผมได้ตลอดเวลา ที่

สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือเล่มนี้

หนังสือ ภาษาไทยเล่มแรก ที่กล่าวถึงจาวาสคริปต์มาตรฐานใหม่ ES6 ตอนนี้ไม่ตีพิมพ์ซ้ำอีกแล้ว ยังมีขายบางแห่งเท่านั้น ควรเช็คอีกที

cover

เล่มใหม่เนื้อหาอัปเดต เป็นจาวาสคริปต์ตั้งแต่ ES6 เป็นต้นไป (ล่าสุดเนื้อหาถึง ES14) เนื้อหาเกือบ 700 กว่าหน้า

cover

สั่งซ์้อได้ที่เว็บ MEB (ขายเป็นอีบุ๊กเท่านั้น)